วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

มลพิษทางดิน



 สารมลพิษในดินอาจมีอยู่ในธรรมชาติ และโดยที่มนุษย์นำไปใส่ให้กับดิน หากมีมากจนถึงระดับที่เป็นพิษ จะทำให้สิ่งมีชีวิตหยุดการเจริญเติบโต มีการสะสมในโซ่อาหาร โดยจะพบในผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์
ที่มนุษย์บริโภค มนุษย์ก็จะได้รับสารพิษเหล่านั้น จนเกิดความผิดปกติขึ้น สุขภาพเสื่อมโทรมจนถึงเสียชีวิตได้ สารมลพิษในดิน ยังทำให้จุลินทรีย์ในดิน ทำงานไม่ได้ ทำลายการดูดซึม ธาตุอาหารของรากพืช อันตรายจากมลพิษทางดิน เนื่องจากดินมีสารมลพิษหลายชนิดปะปนอยู่ ทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ในดินเพิ่มขึ้น แต่มีออกซิเจนน้อยลง จึงมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของแบคทีเรียที่ใช้ออกซิเจน สารมลพิษจากดินสามารถกระจัดกระจายสู่แหล่งน้ำ และอากาศจึงก่อให้เกิดมลภาวะทางน้ำ และอากาศได้ อันตรายของมลภาวะทางดินต่อสิ่งมีชีวิต มีดังนี้

            1. อันตรายต่อมนุษย์
มนุษย์จะได้รับพิษของสารประกอบไนเทรต ไนไทรต์ในยาปราบศัตรูพืช จากน้ำดื่ม น้ำใช้ในแหล่งเกษตรกรรม และจากผลผลิตทางการเกษตร เช่น ผัก ผลไม้ จนถึงระดับที่เป็นพิษต่อร่างกายได้

           2. อันตรายต่อสัตว์
สัตว์ที่หากินในดินจะได้รับพิษจากการสัมผัสสารพิษในดินโดยตรงและจากการ บริโภคอาหารที่มีสารพิษปะปนอยู่ สารพิษที่ได้รับส่วนใหญ่จะเป็นยาฆ่าแมลงที่นอกจากจะทำลายศัตรูพืชแล้วยัง ทำลายศัตรูธรรมชาติ ซึ่งเป็นปรสิตไปด้วยทำให้เกิดการระบาดของแมลงบางชนิดที่เป็นอันตรายต่อพืชใน ภายหลัง หรืออาจเกิดการทำลายแมลงที่ช่วยผสมเกสรดังนั้นผลผลิตอาจลดลงได้

          3. อันตรายต่อพืชและสิ่งมีชีวิตในดิน
พืชจะดูดซึมสารพิษเข้าไป ทำให้เจริญเติบโตผิดปกติ ผลผลิตต่ำ หรือเกิดอันตราย และการสูญพันธุ์ขึ้น แบคทีเรียที่สร้างไนเทรตในดิน หากได้รับยาฆ่าแมลง เช่น ดีลดริน อัลดริน และคลอเดน ที่มีความเข้มข้น 100 พีพีเอ็ม จะทำให้กระบวนการสร้างไนเตรตของแบคทีเรียได้รับความกระทบกระเทือน

มลพิษทางน้ำ



มลพิษทางน้ำ
น้ำเสีย หมายถึงของเสียที่อยู่ในสภาพเป็นของเหลว รวมทั้งมลสารที่ปะปนหรือปนเปื้อนอยู่ในของเหลวนั้นจากความหมายนี้อาจจำนกลักษณะของน้ำเสียได้ดังนี้
น้ำเสีย คือน้ำที่มีสิ่งเจือปนต่าง ๆมากมาย จนกระทั่งกลายเป็นน้ำที่ไม่เป็นที่ต้องการและน่ารังเกียจของคนทั่วไป น้ำเสียก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ แก่แหล่งน้ำนั้น ๆ
น้ำเสียแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะตามสภาพของน้ำเสียได้ ดังนี้
1. ลักษณะทางกายภาพคือ สภาพหรือสภาวะของน้ำที่มองเห็นได้หรือสัมผัสได้เช่น มีขยะและสิ่งปฏิกูล ความขุ่น สี กลิ่น รส และอุณหภูมิที่ผิดปกติ
2. ลักษณะทางเคมี คือมีสารประกอบทั้งอนินทรีย์และอินทรีย์ต่าง ๆ ละลายเจือปนอยู่ในน้ำ ทำให้มีความเป็นกรด-ด่างเกินปกติหรือมีโลหะทั้งที่เป็นพิษ และไม่เป็นพิษ รวมทั้งมีสารอินทรีย์เกินกว่าปกติ
3. ลักษณะทางชีวภาพ คือมีการปนเปื้อนของสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ เช่น แบคทีเรีย เชื้อไวรัส โปรโตซัวและหนอน ซึ่งจะทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ที่มีน้ำเป็นสื่อหรือเป็นพาหะในคนและสัตว์ น้ำที่มีลักษณะเช่นนี้จัดว่าเป็นน้ำเสียเช่นกัน
4. ลักษณะทางสารกัมมันตภาพรังสี คือมีการปนเปื้อนของสารกัมมันตภาพรังสีซึ่งสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทางเช่น ทางผิวหนัง การหายใจ เป็นต้น ทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกายของผู้ที่ได้รับรังสี น้ำที่มีการปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีดังกล่าวจัดว่าเป็นน้ำเสียเช่นกัน
สรุปได้ว่า "น้ำเสีย" คือของเสียชนิดหนึ่งที่อยู่ในสภาพที่เป็นของเหลวที่ถูกปล่อยทิ้ง หรือถูกปล่อยออกมาจากแหล่งกำเนิดมลพิษ และมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไปจากของเสียชนิดอื่น ๆ
แหล่งกำเนิดน้ำเสีย น้ำเสียเกิดได้จาก 3 แหล่งใหญ่ ๆ คือ
-น้ำเสียจากชุมชนได้แก่ น้ำเสียต่าง ๆ ที่เกิดจากกิจกรรมประจำวันของประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชน รวมทั้งกิจกรรมที่เป็นการประกอบอาชีพด้วยเช่น น้ำเสียที่เกิดจากการชำระล้างสิ่งสกปรกทั้งหลายของประชาชนในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย หมู่บ้าน อำเภอ จังหวัด เป็นต้น ทั้งนี้ อาจกล่าวได้ว่าน้ำเสียชุมชนเป็นน้ำเสีย สาธารณะ ซึ่งหน่วยงานราชการควรเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการบำบัดให้กลายเป็นน้ำสะอาดพอเพียงที่จะทิ้งลงแม่น้ำลำคลองหรือแหล่งน้ำสาธารณะ
-น้ำเสียจากอุตสาหกรรมได้แก่ น้ำเสียที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท น้ำเสียส่วนใหญ่มักเป็นน้ำล้างเครื่องจักรอุปกรณ์จากกระบวนการผลิต่าง ๆ เช่น การล้างถังหรือภาชนะที่ใช้ในกระบวนการผลิต ทำให้น้ำเสียมีสิ่งเจือปนจากวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตด้วยเสมอ จึงกล่าวได้ว่าน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมคือ ของเหลวที่เป็นกากหรือมลสารหรือสิ่งปฏิกูลจากวัตถุดิบของโรงงาน
-น้ำเสียจากเกษตรกรรมได้แก่ น้ำเสียที่มาจากการทำเกษตรกรรม ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ ประเภทเกษตรกรรมชนิดอยู่กับที่เช่น จากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ และประเภทไม่มีแหล่งกำเนิดแน่นอนเช่น การเพาะปลูกในหลาย ๆ พื้นที่ซึ่งมีการใช้ปุ๋ยและสารเคมีทางการเกษตร
 

ภาวะโลกร้อน



           ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas) เป็นก๊าซที่มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสีความร้อน หรือรังสีอินฟาเรดได้ดี ก๊าซเหล่านี้มีความจำเป็นต่อการรักษาอุณหภูมิในบรรยากาศของโลกให้คงที่ ซึ่งหากบรรยากาศโลกไม่มีก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ดังเช่นดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ในระบบสุริยะแล้ว จะทำให้อุณหภูมิในตอนกลางวันนั้นร้อนจัด และในตอนกลางคืนนั้นหนาวจัด เนื่องจากก๊าซเหล่านี้ดูดคลื่นรังสีความร้อนไว้ในเวลากลางวัน แล้วค่อยๆ แผ่รังสีความร้อนออกมาในเวลากลางคืน ทำให้อุณหภูมิในบรรยากาศโลกไม่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน มีก๊าซจำนวนมากที่มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสีความร้อน และถูกจัดอยู่ในกลุ่มก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีทั้งก๊าซที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญคือ ไอน้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โอโซน มีเทนและไนตรัสออกไซด์ สารซีเอฟซี เป็นต้น แต่ ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกควบคุมโดยพิธีสารเกียวโต มีเพียง 6 ชนิด โดยจะต้องเป็นก๊าซที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ (anthropogenic greenhouse gas emission) เท่านั้น ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซมีเทน (CH4) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N20) ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFC) ก๊าซเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFC) และก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) ทั้งนี้ ยังมีก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง คือ สารซีเอฟซี (CFC หรือ Chlorofluorocarbon) ซึ่งใช้เป็นสารทำความเย็นและใช้ในการผลิตโฟม แต่ไม่ถูกกำหนดในพิธีสารเกียวโต เนื่องจากเป็นสารที่ถูกจำกัดการใช้ในพิธีสารมอนทรีออลแล้ว

มลพิษทางอากศ



มลพิษทางอากาศ
 โลกของเรามีชั้นของบรรยากาศห่อหุ้มอยู่โดยรอบหนา ประมาณ 15 กิโลเมตร ชั้นของบรรยากาศดังกล่าวนี้ประกอบด้วย ก๊าซไนโตรเจน ออกซิเจน ฝุ่นละอองไอน้ำ และเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ ในจำนวนก๊าซเหล่านี้ ก๊าซที่สำคัญที่สุดต่อการดำรงอยู่ของ สิ่งมีชีวิตในโลก คือ ก๊าซออกซิเจนและชั้นของบรรยากาศที่มีก๊าซออกซิเจนเพียงพอ ต่อการดำรงชีวิตมีความหนาเพียง 5 - 6 กิโลเมตรเท่านั้น ซึ่งปกติจะมีส่วนประกอบ ของก๊าซต่าง ๆ ค่อนข้างคงที่ คือ ก๊าซไนโตรเจน 78.09% ก๊าซออกซิเจน 20.94% ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเฉื่อย 0.97%ในปริมาณคงที่ของก๊าซดังกล่าวนี้ เราถือ ว่าเป็นอากาศบริสุทธิ์แต่เมื่อใดก็ตามที่ส่วนประกอบของอากาศเปลี่ยนแปลงไปมี ปริมาณ ของฝุ่นละออง ก๊าซ กลิ่น หมอกควัน
ไอ ไอน้ำ เขม่าและกัมมันตภาพรังสีอยู่ในบรรยากาศมากเกินไป เราเรียกสภาวะดังกล่าวว่า
อากาศเสียหรือ มลพิษทางอากาศ
แหล่งกำเนิดสารมลพิษทางอากาศ แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศที่สำคัญของประเทศไทย แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
1.ยานพาหนะ 


  ยานพาหนะก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศจำกัดเฉพาะในเขตชุมชนขนาดใหญ่ เช่น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล แต่ปัญหามลพิษทางอากาศจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นปัญหาเฉพาะพื้นที่กระจายอยู่ทั่วประเทศไทยทั้งในเขตชนบทและเขตเมือง
แหล่งกำเนิดจากยานพาหนะ
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของประเทศจากภาคเกษตรกรรม มาเป็นภาคอุตสาหกรรมทำให้กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นศูนย์กลางของแหล่งธุรกิจและความเจริญมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความต้องการในการเดินทางและการขนส่งมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาจราจรติดขัดเข้าขั้นวิกฤต และนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ การจราจรที่ติดขัดทำให้รถเคลื่อนตัวได้ด้วยความเร็วต่ำ มีการหยุดและออกตัวบ่อยครั้ง ขึ้นน้ำมันถูกเผาผลาญมากขึ้น การสันดาปของน้ำมันเชื้อเพลิงไม่สมบูรณ์ และมีการระบายสารมลพิษทางท่อไอเสียในสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นบริเวณที่ใกล้ถนนที่มีการจราจรติดขัด จะมีปัญหามลพิษทางอากาศที่รุนแรงกว่า ในบริเวณที่มีการจราจรคล่องตัว สารมลพิษที่ระบายเข้าสู่บรรยากาศที่เกิดจาก การคมนาคมขนส่ง ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน สารตะกั่วและก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
2.โรงงานอุตสาหกรรม

 
มลพิษทางอากาศจากแหล่ง กำเนิดอุตสาหกรรม เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงและกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดผล กระทบต่อคุณภาพอากาศในบรรยากาศและอาจส่งผล กระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชน โดยทั่วไปหรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญเชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมมีอยู่ 3 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ
-เชื้อเพลิงที่เป็นของแข็ง
-เชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว ได้แก่ น้ำมันเตา และน้ำมันดีเซล
-เชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ และก๊าซ LPG